สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้

30 – 50% ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง จะมีความปกติทางอารมณ์ เช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลตามมา ซึ่งอาการปวดเรื้อรัง หรือความปวดเรื้อรัง (Chronic pain) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือน โดยอาจปวดเป็นพักๆ หรือปวดต่อเนื่องก็ได้ อาการปวดเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

แต่อาจเกิดจากเพราะปัญหาสุขภาพ หรือเคยประสบอุบัติเหตุ จนความปวดนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการนอน ความเครียด ปัญหาด้านการกินตามมา

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

  1. อาการทางร่างกาย
    • ใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น
    • ความดันโลหิตสูง
    • หายใจลำบาก
    • ปัสสาวะบ่อย
    • เหงื่อออกมาก
    • ลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย
  2. อาการทางจิตใจ
    • ย้ำคิดย้ำทำ
    • มองโลกในแง่ร้าย
    • ไม่มั่นใจตัวเอง
  3. อาการทางอารมณ์
    • ตื่นเต้น
    • ซึมเศร้า
    • หงุดหงิด
    • เบื่อหน่ายง่าย

 

แนวทางการดำเนินโรค

หากไม่ได้จัดการแก้ไขกับความปวดเรื้อรังที่เป็นต้นตอของปัญหา ความเครียดและความวิตกกังวลก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ความเครียดและความวิตกกังวลนั้นจะพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้า และภาวะผิดปกติทางกายอื่น ๆ ที่เรียกว่า “persistent somatoform pain disorder” (โรคเจ็บปวดคงยืนที่มีอาการทางกาย) หรือ functional pain syndrome (อาการเจ็บปวดที่มีผลต่อสรีรภาพหรือจิตใจ) ได้

 

วิธีการรักษา

  1. การรักษาด้วยตัวเอง
    • ใช้เทคนิคลดความเครียด เช่น หางานอดิเรกที่ชอบทำ ออกกำลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นั่งสมาธิ คิดบวก เขียนบันทึกประจำวัน
    • หาที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
    • ลดอาการปวดด้วยตนเอง ด้วยการประคบอุ่น ประคบเย็น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  2. การรักษาทางกายภาพบำบัดเน้นไปที่การรักษาอาการปวดเรื้อรังด้วยเครื่องมือและวิธีทางกายภาพบำบัดต่าง ๆ เพื่อให้ความปวดลดลง ส่งผลให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และความเครียดจะทุเลาลงด้วย ได้แก่
    • การใช้อัลตร้าซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้า หรือเลเซอร์ลดปวด
    • การออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • การฝึกหายใจ ช่วยได้ทั้งบรรเทาอาการปวด และช่วยลดความเครียด
  3. การรักษาทางด้านอื่นๆ
    • การใช้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants)
    • บำบัดด้วยการพูดคุย หรือที่เรียกว่า จิตบำบัด (psychotherapy)

 

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

  • หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อช่วยลดโอกาสป่วยเป็นโรคเครียด
  • รู้จักตนเอง มีสติ และหาวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
  • หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน และที่พักอาศัยให้เหมาะสม จะช่วยลดทั้งความเครียดและลดอาการปวดเรื้อรังได้

เครดิต // https://www.kinrehab.com/anxiety_disorder

287