ความเสียสละเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว

สังคมมนุษย์นั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นศูนย์รวมของบุคคลหลายประเภท ซึ่งมีทั้งคนที่มีจิตใจดี ชอบคิดดี พูดดี ทำดี และบุคคลที่มีลักษณะและการกระทำในทางตรงข้าม บางคนชอบช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากเช่น บริจาค หรือสละความสุขของตน เพื่อให้ผู้อื่นได้มีความสุขพ้นจากความทุกข์ที่เขากำลังประสบอยู่ ซึ่งได้รับความทุกข์ยากอันเกิดจากภัยธรรมชาติบ้างเกิดจากการกระทำของตนเองและผู้อื่นบ้าง ซึ่งเมื่อบุคคลเหล่านั้นประสบกับเหตุการณ์อย่างนี้แล้วผู้ที่มีจิตเมตตากรุณาก็จะเข้ามาช่วยเหลือโดยการบริจาคสิ่งของเพื่ออำนวยความสุขแบ่งปันให้กับบุคคลที่อยู่ในสังคมเดียวกันที่ประสบกับความลำบากนั้น ๆ ลักษณะแห่งการเสียสละ     การเสียสละวัตถุสิ่งของ และการเสียสละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความจริงใจคือการเสียสละกิเลส๑  ทั้งในฐานะของนักบวช และในฐานะของประชาชนทั่วไป หลักของการเสียสละ  อยู่ทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นปกครอง ชนชั้นกลาง ชนชั้นล่าง ซึ่งจะต้องมีหลักธรรมะอันนี้ เพื่อผดุงสังคมให้เกิดความสงบสุข ในการบำเพ็ญความเสียสละนั้น จะต้องเป็นความเสียสละ  ที่ประกอบด้วยปัญญา จึงจะเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ เพราะทำให้เกิดผลที่ดีตามมา ๒ การบำเพ็ญกิจด้วยความเสียสละประโยชน์สุขของตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมนั้นตามหลักจาคะธรรม (ความเสียสละ) ย่อมสามารถที่จะเป็นเสมือนผู้นำที่บันดาลประโยชน์สุขให้เกิดแก่สังคมได้อย่างมากมาย ซึ่งหมายความว่า พุทธศาสนาสอนเรื่องความเสียสละ ในมิติของคุณธรรมไว้อย่างชัดเจน และมองถึงคุณค่าของการเสียสละว่าควรเสียสละเพื่อสิ่งใดและอย่างไรจึงจะเป็นการสมควรสมดังพุทธพจน์ว่า

  “นรชนพึงสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะที่สำคัญ เมื่อจะรักษาชีวิต ก็พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึงสละทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และแม้แต่ชีวิตทั้งหมด”๓            

๑ พระธรรมโมล(สมศกด อปสโม), ๒๕๔๖, หน้า ๑๒๔.

๒ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),๒๕๕๑, หน้า ๒๕.

๓ ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๔๗๐/๑๗๗.

เครดิต // ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรม

159