สึนามิ (TSUNAMI) คืออะไร?

by admin 20 มกราคม 2022

16 ..65 – เกิดขึ้นอีกครั้งกับภัยพิบัติจากสึนามิ จากการปะทุของภูเขาไฟใต้ทะเล ทำให้ตองกา และหลายประเทศชายฝั่งแปซิฟิก ได้รับผลกระทบหนัก โอกาสนี้มาทำความรู้จักสึนามิ เกิดจากสาเหตุใด

 

กรมทรัพยากรธรณี ได้ระบุว่า สึนามิ (Tsunami) เป็นคำที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าหมายถึงคลื่นยักษ์ที่มีความยาวคลื่นเป็นหลัก 100 กิโลเมตรขึ้นไป ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ 

เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นหากแปลตรงตัวคำว่า TUS หมายถึง ท่าเรือ NAMI หมายถึง คลื่น

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งตรงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งก่อให้มีแนวของรอยเลื่อนมีพลังอันเป็นแหล่งกำหนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คลื่นที่เกิดขึ้นมักมีลักษณะขนาดเล็ก  ไม่สามารถตรวจวัดได้ขณะอยู่ในทะเลเปิด

ต่อเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตามสภาพภูมิลักษณ์ของชายฝั่งนั้นๆ จนมีผลกระทบร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลต่ออ่าวที่เว้าเป็นรูปตัววี (V) และเปิดไปสู่มหาสมุทรโดยตรง

สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ มี 4 รูปแบบหลัก

1. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวที่พื้นท้องทะเล

2. การระบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล 

3. ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล 

4. การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล

 

สำหรับบริเวณแหล่งเกิดสึนามิ ส่วนใหญ่สึนามิเกิดบริเวณเดียวกับย่านที่เกิดแผ่นดินไหวในทะเลหรือชายฝั่งโดย 80% ของสึนามิที่เกิดทั้งหมดมักอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก กรมทรัพยากรธรณี ยกตัวอย่างการเกิดสึนามิ ครั้งรุนแรงในอดีต ไว้ดังนี้

?เมื่อประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดภูเขาไฟระเบิดที่เกาะอีเจียน เมืองทีรา ประเทศกรีซ ทำให้เกิดสึนามิในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สันนิษฐานว่ามีคลื่นสึนามิที่กระทบชายฝั่งของอิสราเอลสูงประมาณ 6 เมตร

?.. 2298 เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นผลให้เกิดสึนามิตามแนวชายฝั่งประเทศโปรตุเกส สเปน และโมร็อกโก มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ 60,000 คน

?15 มิถุนายน 2439 เกิดสึนามิที่เมืองเมจิ ซันริจู คลื่นสูง 30 เมตร มีผู้เสียชีวิต 27,000 คน บาดเจ็บ 9,316 รายบ้านเรือนเสียหาย 10,600 หลัง

?เมษายน 2489 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งของมลรัฐอาลาสกา ทำให้ประภาคารสกอตซ์เคป บนเกาะยูนิแมก สูง13.5 เมตร พังทลาย ต่อมาประมาณ 5 ชั่วโมง คลื่นสึนามิแผ่ไปถึงเมืองฮีโล มลรัฐฮาวาย ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวขนาดใหญ่ และรับคลื่นสึนามิโดยตรง ทำให้มียอดคลื่นสูง 16 เมตร ก่อความเสียหายรุนแรง ไม่ว่าอาคารบ้านเรือน สะพานรางรถไฟ ถนนเลียบชายหาด เสียหายยับเยิน คร่าชีวิตมนุษย์ประมาร 160 คน

? 23 พฤษภาคม 2503 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งประเทศชิลีขนาด 9.5 ริกเตอร์ (แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่บันทึกได้ก่อให้เกิดสึนามิทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก คร่าชีวิตมนุษย์กว่า 1,000 คน คลื่นมีความเร็ว 710 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากประเทศชิลีถึงเมืองฮีโล มลรัฐฮาวาย 14.9 ชั่วโมง ซึ่งอยู่ห่าง 10,600 กิโลเมตรได้รับผลกระทบรุนแรง ความร้ายกาจของสึนามิครั้งนี้ยังคร่าชีวิตชาวญี่ปุ่น 140 คน ทั้งที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ห่างถึง 17,000 กิโลเมตร ซึ่งมียอดคลื่นสูงถึง 7 เมตร ใช้เวลาเดินทาง 24 ชั่วโมง

?27 มีนาคม 2507 เกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์ ในร่องลึกชันอะลูเชียน ใกล้ชายฝั่งมลรัฐอาลาสกาทำให้บริเวณอ่าววาลดีสมียอดคลื่นสูง 30 เมตร และที่ชายฝั่งมลรัฐฮาวายมียอดคลื่นสูง 5 เมตร

? 2 กันยายน 2535 เกิดสึนามิที่ประเทศนิการากัว มียอดคลื่นสูง 10 เมตร คนเสียชีวิต 170 คน บาดเจ็บ 500 คนประชากรไร้ที่อยู่อาศัย 13,000 ครอบครัว

?13 กรกฎาคม 2536 เกิดคลื่นสึนามิเข้าทำลายชายฝั่งเมืองโอะกุชิริ เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่นอย่างรุนแรง

? 17 กรกฎาคม 2541 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของเมืองซาวน์ดาวน์ เกาะปาปัวนิวกีนี ส่งผลให้มีดินถล่มใต้ทะเล และสึนามิตามมาเป็นชุดขนาดใหญ่อย่างน้อย 3 ชุด มีผู้เสียชีวิต 2,200 คน บาดเจ็บ473 คน บริเวณชายฝั่งเสียหายมาก ตามรายงานของ Earthquake Engineering Research Institue (January, 1999) รายงานว่าแผ่นดินไหวเกิดเวลา 18.49 ตามเวลาท้องถิ่น มีผู้บาดเจ็บถูกทยอยส่งเข้าโรงพยาบาลเมืองไอทาเป เวลา 20.00 แต่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เพราะโรงพยาบาลปิดตั้งแต่เวลา 16.00 .

ในย่านมหาสมุทรอินเดีย ก็สามารถเกิดสึนามิได้เช่นกัน ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนี้

?เมื่อ 326 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดแผ่นดินไหวใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำสินธุ ประเทศอินเดีย ส่งผลให้เกิดสึนามิเข้าโจมตีกองเรือรบของกษัตริย์อเลกซานเดอมหาราช ขณะเดินทางกลับประเทศกรีก (Lietzin, 1974)

?.. 2067 เกิดสึนามิใกล้เมืองดาพอล รัฐมหาราชต์ ประเทศอินเดีย

?.. 2305 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งอารากัน สหภาพพม่า ส่งผลให้เกิดสึนามิ ทำความเสียหายกับบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวเบงกอล

?.. 2340 เกิดแผ่นดินไหวในทะเลทางทิศตะวันตกของตอนกลางเกาะสุมาตรา ด้วยขนาด 8.4 ริกเตอร์ ทำให้เกิดสึนามิ เข้าชายฝั่งเมืองปาดัง ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน

?.. 2376 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.7 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งตะวันตกด้านทิศใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ทำความเสียหายให้แก่บริเวณดังกล่าว และมีผู้เสียชีวิตมากมาย

?.. 2386 มีคลื่นขนาดใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่หมู่เกาะ Nias มีรายงานการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก

?.. 2424 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะอันดามัน ส่งผลให้เกิดสึนามิมีคลื่นสูง 1 เมตร เข้ากระแทกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินเดีย

?27 สิงหาคม 2426 เวลาเช้าตรูภูเขาไฟกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง เป็นผลให้ปากปล่องภูเขาไฟทะลายลงทะเลส่งผลให้เกิดสึนามิทั่วมหาสมุทรอินเดีย ที่เกาะชวา และเกาะสุมาตรามีความสูงของคลื่นสึนามิ 15 – 42 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 36,000 คน

?26 มิถุนายน 2484 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่ระหว่างหมู่เกาะนิโคบาร์อันดามัน แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงแนวชายฝั่งของประเทศอินเดีย และศรีลังกา ทำให้เกิดสึนามิตามมา มีการบันทึกว่ามีความสูงของคลื่น 1 เมตร และเชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน

?27 พฤศจิกายน 2488 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางบริเวณชายฝั่งทะเลเมืองมิกราน ทางทิศใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร ของเมืองหลวง ประเทศปากีสถาน เป็นผลให้เกิดสึนามิทำความเสียหายให้แก่ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย

เมื่อมีสัญญานว่าจะเกิดสึนามิ จะมีมาตราการป้องกันภัยอย่างไร?

1. ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวหรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที 

2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดสึนามิตามมาได้

3. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือ ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบข่าวว่าจะเกิดสึนามิพัดเข้าหา 

4. คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอประกาศจากการก่อนจึงสามารถลงไปชายหาดได้

5. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อ

6. หากที่บ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องสึนามิ

7. ควรหลีกเลี่ยงการก่อสร้างอาคารบ้านเรือใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง

8. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากสึนามิเป็นประจำทุกปี เช่นกำหนดเส้นทางหนีภัยสึนามิ สถานที่ในการอพยพ และแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น

9. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง

10. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากสึนามิและแผ่นดินไหว

11. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

 

ที่มากรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th/n_more_news.php?filename=tsunami3

591